วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555


คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม


ประเภทของคอมพิวเตอร์

เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

เปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

ลักษณะของโน้ตบุ๊ค
โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)
เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา
ลักษณะของเน็ตบุ๊ค

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)
แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม

แท็บเล็ต
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
1.การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
2.งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
3.ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
4.ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5.ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
6.วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
7.งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
8.งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
9.งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
10.ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม


อุปกรณ์ภายนอกของคอมพิวเตอร์
1.จอมอนิเตอร์
จอมอนิเตอร์เป็นส่วนประกอบภายนอกคอมพิวเตอร์  มีหน้าที่เพื่อเอาไว้สำหรับแสดงผล  ซึ่มีหน้าที่ในการแปลงเป็นสัญญาณภาพสำหรับแสดงผล  ในปัจจุบันนั้นชนิดของมอนิเตอร์มีหลากหลายขึ้นและ  มีหลายขนาดให้เลือกซื้อ ตั้งแต่ 17,18,19,20,21..... ส่วนจอมอนิเตอร์เองก็มีหลายชนิด CRT , LCD และมีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่าจอ LED  ที่มีคุณสมบัติไม่ต่างจาก LCD มากนัก  และในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ  มากมายที่บรรจุเข้าไปเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับการแสดงผล  โดยจะมีสายในการเชื่อมต่อจากตัวการ์ดจอหรือเมนบอร์ด จะมีช่องต่อ แบบ D-Sub และ DVI ในปัจจุบัน

2.เคส
เป็นกล่องที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งแล้วแต่คนที่ออกแบบว่าจะให้มีแบบใด  และมีสีสันที่สวยงาม ซึ่งเปรียบเสมือนร่างกายของคอมพิวเตอร์  ซึ่งภายในได้บรรจุอุปกรณ์ที่สำคัญไว้  และปกติแล้วเวลาที่เราซื้อนั้นจะมีพาวเวอร์ซัพพรายให้เราด้วยซึ่งมีหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้านั้นเอง  

3.เมาส์
แน่นอนครับน้อยคนนักที่ไม่รู้จักเมาส์  เป็นอุปกรณ์ input ชนิดหนึ่งที่เอาไว้เลื่อนลูกศรในการใช้งาน  มีเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์รูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ  ซึ่งหลากหลายสีสัน  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีสายและไม่มีสาย

4.คีย์บอร์ด
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับในการป้องข้อมูลตัวอักษรหรือตัวเลข  และยังทำหน้าที่ในการควบคุมทิศทางต่างๆ  ของโปรแกรมนั้นๆด้วย  ซึ่งก็มีหลายแบบหลายฟังชันก์ต่างๆ แล้วแต่สามสะดวกของผู้ใช้มีมั้งมีสายและไม่มีสายเช่นกัน

5.เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ (Computer printer) คืออุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1.เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะสมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม

2.เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

3.เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่คุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่นหมึกมาก

4.พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ

ซีพียู  เป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  คำนวณ และเปรียบเทียบข้อมูลตามเงื่อนไขของโปรแกรม  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้  โดยพื้นฐานแล้วจะทำหน้าที่ประมวลผลทางคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกยะ   ปัจจุบันได้พัฒนาไปอย่างมาก  ภายในตัวของซีพียูนั้นจะประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำเรียกว่า  “Silicon”  ได้มีการนำไปผสมกับสารตัวอื่นเพื่อให้สามารถนำไฟฟ้าได้  โดยจะนำ Silicon มาประกอบและทำการจัดเรียงเป็นทรานซิสเตอร์  ดังนั้นซีพียูตัวหนึ่งจะประกอบไปด้วยทรานซิลเตอร์จำนวนหลายล้านตัวเลยทีเดียว
ซีพียูนั้นจะประกอบไปด้วย ขาจำนวนหนึ่งซึ่งแล้วแต่รุ่นของซีพียู  และผู้ผลิตว่าจะให้จำนวนเท่าไหร่  แล้วไดนำมาเป็นชื่อซ็อกเก็ตของเมนบอร์ดด้วย  ซึ่งในปัจจุบันนั้นได้ออกมาหลายรุ่นให้เลือกให้ตั้งแต่ที่มีประสิทธิภาพ สูงๆ  จนลงมาถึงแค่พอให้ได้พอ  ถึงจะเป็นระดับต่ำแต่ว่าประสิทธิภาพแต่ก็สามารถใช้งานได้ดี  โดยมีหน่วยความเร็วเป็น GMz สำหรับผู้ผลิตก็มีทั้งของ Intel และ AMD

เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม

แรม  เป็นหน่วยความจำหลักที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลตลอดเวลาในขณะที่เครื่องทำงาน  เมื่อ ซีพียู  เรียกคำสั่งจะบรรจุเข้าไปในแรมถึงแม่แรมจะหน่วยความจำหลักแต่เป็นหน่วยความจำที่ใช้งานและเก็บอยู่ไม่ถาวรเพราะถ้าเราปิดเครื่องไปแล้ว  ข้อมูลจะหายไป ซึ่งใช้ประสานงานข้อมูล  แรมเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลหลัก  ดังนั้นจึงมีส่วนต่อความเร็วของเครื่องด้วย  แรมมีหลายประเภท  ซึ่งจะแตดต่างในเรื่องของความเร็ว  และทั้งลักษณะของตัวแรมเอง  เช่น รอยบาก จำนวนขานั้นเอง

ของแรม จะขอกล่าวประเภทที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1.DDR2
DDR2 เป็นแรมที่มีความเร็วตั้งแต่ 533 – 1,066 MHz และมีแรงดันไฟฟ้า  1.8 โวลต์  ในแผงวงจรนั้นมีทั้งหมด 240 ขา ณ ปัจจุบันแรมชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากเพราะราคาไม่สูง  และความเร็วดี

2.DDR3
DDR3  เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เพิ่มเข้ามาด้วยประสิทธิภาพในด้านความเร็วที่สูงกว่าชนิดอื่นๆ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากมาตรฐาน DDR และ DDR2  ไม่สะสมความร้อนและใช้พลังงานต่ำ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการจากองค์กร JEDEC (Joint Electron Devie Engineering Council) ผู้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีชิ้นส่วนอีเล็คทรอนิคระดับโลก  ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วราคายังสูงอยู่  ซึ่งมีความเร็ว ตั้ง 800 MHz ขึ้นไป 

ฮาร์ดดิสก์ถือได้ว่าเป็นหน่วยความจำถาวรที่จำเป็นมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเพราะ  เป็นคลังของข้อมูลของเครื่องที่ขาดไม่ได้  ทั้งระบบปฏิบัติการทั้งโปรแกรมต่างๆ  เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ที่ฮาร์ดดิสก์  ถือได้ว่าเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลมากมาย  ความจุของฮาร์ดดิสก์ มีหน่วยเป็น GB (กิกะไบต์)

ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ 2 แบบที่นิยมคือ
1.IDE 
ฮาร์ดดิสก์แบบนี้จะมีการเชื่อมต่อผ่านสายแพ  ซึ่งมีจำนวน 80 เส้น  โดยจะมีความเร็วที่  100 MB/s ถึง 133 MB/s ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ แบบนี้เริ่มจะล้าสมัยเลยไม่ค่อยเห็นคนใช้แล้ว  แต่ยังเครื่องรุ้นเก่าบ้างเครื่องยังจำเป็นต้องใช้

2.SATA
เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่นิยมใช้งานกันมากในขนาดนี้เพราะว่า  มีความเร็วกว่า  กินไฟน้อยกว่า  ประหยัดพื้นที่  และในขนาดนี้มีราคาที่น้อยกว่า แบบ IDE  และมีสายเชื่อมต่อที่เล็กกว่า


การ์ดแสดงผล  เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำหน้าทีในการประมวลผลสัญญาณของภาพเพื่อส่งต่อไปยังมอนิเตอร์  เพื่อแสดงภาพ  สำหรับการ์ดแสดงผลนี้เป็นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ต้องการภาพที่สมจริงรวมไปถึงคนที่ต้องการเล่นเกมส์  และคนที่ชอบตัดต่อ VDO ส่วนใหญ่แล้ว  ก็จะติดตั้งมาพร้อมเมนบอร์ด  แต่คนที่ต้องการจะมีการ์ดแสดงผลแยกตางหากก็สามารถ  เลือกที่ไม่มีติดตั้งก็ได้

ประเภทของ การ์ดแสดงผล
1.AGP(Accelerated Graphics Port) 
เป็นพอร์ตรุ่นเดิมในปัจจุบันได้ล้าสมัยไปเพราะมีความเร็วที่ต่ำ

2.PCI Express
เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อใหม่ล่าสุด  ซึ่งมีความเร็วมากกว่า AGP

การ์ดเสียง(Sound Card)
การ์ดเสียงมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณเสียง  ประกอบไปด้วยซิปที่มีหน้าที่ในการประมวลผลด้วยเสียงเป็นหลัก  และจะมีหัวต่อที่ใช้ต่อให้กับลำโพงนั่นเอง  ซึ่งคุณภาพของเสียงนั้นจะขึ้นอยู่กับตัวนี้ด้วย  โดยส่วนมากแล้วเมนบอร์ดจะติดตั้งมาด้วย  เรียกว่า On Board นั้นเอง  ซิปของผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมี  Creative,C-Media เป็นต้น  ผู้ผลิตซิปต่างๆ  เหล่านี้จะพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ  เพื่อเพิ่มคุณภาพ
 
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
แหล่งจ่ายไฟมีหน้ามีหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเลย  ซึ่งก้มีหลายแบหลายขนาดให้เลือกในปัจจุบัน  ทั้ง 300 w 500w หรืออื่นอีกมากมาย  โดยจะนำกระแสไฟฟ้าที่จ่ายตามบ้าน  220 โวลต์

ไดรว์ CD/DVD

ไดรว์ CD/DVD เป็นเครื่องอ่านข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล  โดยเครื่องนี้ในปัจจุบันสามารถทั้งอ่านและยังเขียนได้ด้วย  ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น  และสื่อ CD/DVD ในปัจจุบันนั้นมีมากมายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ ไดรว์ CD/DVD โดยความเร็วในปัจจุบันถึง 54x DVD จะมีความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 16 x  ซึ่งมีทั้งแบบการเชื่อมต่อจากภายนอกและการเชื่อมต่อจากภายใน จากอดีตฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5นิ้วหนึ่งแผ่นมี ความจุเพียง 1.44 เมกะไบต์ แต่สำหรับแผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วหนึ่งแผ่นมีความจุมากถึง 650 เมกะไบต์ หรือที่เป็น DVD สามารถรุได้สูงสุด ถึง 30 ในแบบ  Blu-ray Discซีดีรอมนอก จากจะมีความจุมากแล้วยังช่วยให้มีความเร็วในการติดตั้งโปรแกรมด้วยเพราะคุณไม่ต้องเสียเวลาในการสลับแผ่นเหมือน ฟลอปปี้ดิสก์ และยังมีความเร็วในการอ่านข้อมูลเร็วกว่าแผ่นดิสก์ทำให้มีการนำเอาซีดีรอมมาใช้มากขึ้น


โมเด็ม (Modem)
โมด็มเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับสายโทรศัพท์  โดยจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอะนาล็อกเป็นดิจิตอล  และจากดิจิตอลป็นอะนาล็อก  เพื่อส่งสัญญาณให้เรามาเล่นเน็ต  ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่2 ประเภทคือ เป็นภายใน (Internel Modem) และ ภายนอก (External Modem) ซึ่งมีความเร็วที่ 56 K เป็นต้นไป จนถึง เป็นหลาย เมะบิตต่อวินาที (Mbps)

แอลอีดี(LED) – แอลซีดี(LCD)
ยังมีความสับสนกันไม่น้อยสำหรับจอภาพแอลอีดี LED ย่อมาจาก Light-emitting-diod ที่มีออกมาจำหน่วยในเวลานี้ส่วนหนึ่งก็เพราะคำโฆษณาของผู้ผลิต  ทำให้ผู้ใช้เข้าใจไปว่ามันคือจอภาพแบบใหม่  เป็นเทคโนโลยีใหม่  แท้จริงแล้ว  ต้องเรียกว่าเป็นจอภาพที่เป็นเทคโนโลยีใหม่  เป็นยุคถัดไปที่จะมาแทนที่แอลซีดี  เรียกว่า จอภาพแบบโอแอลอีดี(OLED) จะใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงรายกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด – ดับของหลอดแอลซีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตาเรามองเห็นออกมา